โทร: +66(0) 92 416 4334 | อีเมล: ptpngpchn@gmail.com

เกี่ยวกับเรา

บริษัท สยาม โนวาส จำกัด

We value Work Ethics & Environment as it helps in creating a Creative Thinktank
About Image
About Image
About Image
About Image
บริษัท สยาม โนวาส จำกัด (SIAM NOVAS CO., LTD.)

บริษัท สยามโนวาส จำกัด

บริษัท สยาม โนวาส จำกัด (SIAM NOVAS CO., LTD.) มีพัฒนาการจากหน่วยวิจัยที่เรียกว่า หน่วยวิจัยภูมิคุ้มกันวิทยา และระบบสืบพันธุ์ (Immunology & Reproductive Research Unit, IRPR) สังกัดภาควิชาสัตวศาสตร์, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ เพทาย พงษ์เพียจันทร์ เป็นหัวหน้าหน่วยวิจัย มีคณะวิจัยประกอบด้วย ผศ. ดร. กรวรรณ ศรีงาม และ ผศ. ดร. วิวัฒน์ พัฒน์พัฒนาวงศ์ ทั้งคู่เคยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท และเอก ภายใต้การปรึกษาของ รศ.เพทาย พงษ์เพียจันทร์ และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิจัยในหน่วยวิจัย IRPR  รวมไปถึงนัดศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอกดีจำนวนหนึ่ง. ณ เวลานั้น จากการทดลองกับแม่โคนมจำนวน 943 ตัว พบว่าเมื่อมีการใช้น้ำเชื้อคัดเพศโคนมที่เตรียมจากปฏิกิริยา ไซโตทอกซิค สามารถทำให้มีลูกโคนมเกิดขึ้นในช่วง 71 – 80 % ซึ่งเป็นระดับที่น่าพอใจ สำหรับการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ดังนั้นการประยุกต์ใช่เทคนิคการผลิตน้ำเชื้อโคเนื้อ และโคนม ขอว บริษัท สยามโนวาส จำกัด จึงมีความพร้อมในการกลาตทั้งใน และต่างประเทศ ที่เป็นที่ทราบกันดีว่า อย่างน้อยทั้งโลกนี้มีความต้องการน้ำเชื้อโคนมมากกว่า 300 ล้านโด๊สต่อปี มีมูลค่าทางการตลาดมากกว่า 9 หมื่นล้านบาทต่อปี ไม่นับรวมมูลค่าการตลาดน้ำเชื้อแช่แข็งโคเนื้ออีกมากกว่า 3 เท่า


รศ. เพทาย พงษ์เพียจันทร์
กรรมการผู้จัดการ, บริษัท สยาม โนวาส จำกัด

ประวิติ:
รศ. เพทาย พงษ์เพียจันทร์ มีความชำนาญด้าน ระบบสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยง, วิทยาเอ็นโดไครน์ ภูมิคุ้มกันวิทยา พันธุศาสตร์ และงานวิจัยชุมชน ในระหว่างการเป็นอาจารย์ที่ ภาควิชา สัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ. เพทาย พงษ์เพียจันทร์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานวิจัยภูมิคุ้มกันวิทยาและระบบการสืบพันธุ์ (Immunology & Reproductive Physiology Research Unit, IRPR) ติดต่อกันมากว่า 30 ปีงานวิจัยส่วนใหญ่ที่ทำได้เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์, การผลิตแอนติบอดี้ต่อฮอร์โมน เพื่อวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเรดิโออิมูนโนแอสเซ (Radioimmunoassay, RIA), การใช้ฮอร์โมนควบคุมการเป็นสัด (oestrus synchronization techniques) ในช่วง 15 ปีสุดท้าย รศ. เพทาย พงเพียจันทร์ ได้ทำการวิจัยเข้มขันที่ทำการผลิตโมโนโคลนอล แอนติบอดีต่อต้านฮอร์โมน โปรเจสเตอร์โรน (Progesterone) การวัดผลการเติมฮอโมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ในน้ำเชื้อสุกรเพื่อเพิ่มจำนวนลูกสุกรต่อครอก และการผลิตโมโนโคลนอล แอนติบอดีต่อต้านแอนติเจน ที่จำเป็น ที่จำเพาะต่อเพศผู้ (male specific antigen) ที่อยู่บนผนังเซลล์ของสเปิร์มโค จากผลการวิจัย และความชำนาญที่ รศ.เพทาย พงเพียจันทร์ ผศ.ดร.วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์ ผส.ดร.กรวรรณ ศรีงาม และคณะนักศึกษาระดับปรัญญาโท และเอก นำไปสู่การจดสิทธิบัตร การผลิตน้ำเชื้อคัดเพศในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในปี พ.ศ. 2550 และได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยที่ชื่อว่า น้ำเชื้อโคคัดเพศ (Cattle Sexed Semen) กับกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2561 รศ.เพทาย พงเพียจันทร์ ได้รับรางวัล Purina Out-standing Research Award (2004) จาก Asian-Australasian Journal of Animal Science และสามารถพัฒนานวัตกรรมการผลิตน้ำเชื้อโคนมเพศ (Gender Biased Frozen Semen) ทำให้ได้รางวัล Poster Award form Agricultural Biotechnology for Better Living and a Clean Environment (ABIC) in 2009 ได้รับรางวัล ผู้รับการบ่มเพาะดีเด่น จาก สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai Business Incubators and Science Parks Association: Thai-BISPA) ประจำปี พ.ศ. 2559 รางวัล 2016 AABI Torch Award for Technology Transfer จาก The Asian Association of Business Incubation (AABI) และรางวัล Grand Prize ด้าน Agricultural Biotechnology จาก Korea Invention Promotion Association ในปี พ.ศ. 2559.